แฟรนไชส์,แฟรนไชส์ไปรษณีย์เอกชน,โพสเซอร์วิส,ขายแฟรนไชส์,ขายแฟรนไชส์ไปรษณีย์,รหัสไปรษณีย์,รหัสไปรษณีย์ไทย,ไปรษณีย์ไทย,ไปรษณีย์ไทย ems,เช็คพัสดุไปรษณีย์,ไปรษณีย์,ไปรษณีย์ ไทย ตรวจ สอบ,รหัสไปรษณีย์กรุงเทพ,ไปรษณีย์,ค้นหารหัสไปรษณีย์,เช็คของไปรษณีย์,ตรวจไปรษณีย์,ตรวจสอบไปรษณีย์,เช็ครหัสไปรษณีย์,รหัสไปรษณีย์ นนทบุรี,รหัสไปรษณีย์ไทย76จังหวัด,ตรวจสอบสถานะไปรษณีย์,เช็ค ems ไปรษณีย์ไทย,ems ไปรษณีย์ไทย,เช็คของทางไปรษณีย์,ไปรษณีย์,ตรวจสอบพัสดุไปรษณีย์,ตรวจสอบไปรษณีย์ ems,ตรา ค่า บริการ ไปรษณีย์ ไทย,ไปรษณีย์ไทย พัสดุ,ไปรษณีย์,เช็คพัสดุ ไปรษณีย์,ส่งไปรษณีย์ไปต่างประเทศ,เรียนปวสทางไปรษณีย์,เรียน กศน ทางไปรษณีย์,ไปรษณีย์อ่อนนุช,จักรยานไปรษณีย์ญี่ปุ่น,เรียนปริญญาตรีทางไปรษณีย์,ไปรษณีย์ลาดพร้าว,ไปรษณีย์คลองจั่น,ไปรษณีย์รามอินทรา,งานไปรษณีย์,เรียนต่อปวส.ทางไปรษณีย์,เงินเดือนไปรษณีย์ไทย,อัตราค่าบริการไปรษณีย์ไทย
     
   แฟรนไชส์,แฟรนไชส์ไปรษณีย์เอกชน,โพสเซอร์วิส,ขายแฟรนไชส์,ขายแฟรนไชส์ไปรษณีย์,รหัสไปรษณีย์,รหัสไปรษณีย์ไทย,ไปรษณีย์ไทย,ไปรษณีย์ไทย ems,เช็คพัสดุไปรษณีย์,ไปรษณีย์,ไปรษณีย์ ไทย ตรวจ สอบ,รหัสไปรษณีย์กรุงเทพ,ไปรษณีย์,ค้นหารหัสไปรษณีย์,เช็คของไปรษณีย์,ตรวจไปรษณีย์,ตรวจสอบไปรษณีย์,เช็ครหัสไปรษณีย์,รหัสไปรษณีย์ นนทบุรี,รหัสไปรษณีย์ไทย76จังหวัด,ตรวจสอบสถานะไปรษณีย์,เช็ค ems ไปรษณีย์ไทย,ems ไปรษณีย์ไทย,เช็คของทางไปรษณีย์,ไปรษณีย์,ตรวจสอบพัสดุไปรษณีย์,ตรวจสอบไปรษณีย์ ems,ตรา ค่า บริการ ไปรษณีย์ ไทย,ไปรษณีย์ไทย พัสดุ,ไปรษณีย์,เช็คพัสดุ ไปรษณีย์,ส่งไปรษณีย์ไปต่างประเทศ,เรียนปวสทางไปรษณีย์,เรียน กศน ทางไปรษณีย์,ไปรษณีย์อ่อนนุช,จักรยานไปรษณีย์ญี่ปุ่น,เรียนปริญญาตรีทางไปรษณีย์,ไปรษณีย์ลาดพร้าว,ไปรษณีย์คลองจั่น,ไปรษณีย์รามอินทรา,งานไปรษณีย์,เรียนต่อปวส.ทางไปรษณีย์,เงินเดือนไปรษณีย์ไทย,อัตราค่าบริการไปรษณีย์ไทย  
     
   ขนมไข่โบราณ เริ่มต้นเพียง 9,999 -17,999 บาท ทำเงินมากกว่า 15,000 บาท  
     
     
     
     
     
     
     
     
 
เกร็ดความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับกาแฟ
ประวัติความเป็นมาของกาแฟ

มีตำนานมากมายที่เล่าถึง เรื่องต้นกำเนิดของกาแฟ แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ทุกรู้จักกันดี ก็คือ เรื่องของ คาลดี้ ( Kaldi ) เด็กเลี้ยงแพะชาว อบิสซีเนีย ( Abyssinia )

เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1400 คาลดี้ สังเกตเห็น แพะของเขามีอาการ ร่าเริงผิดปกติหลังจากที่พวกมันได้กิน ผลไม้สีแดง จากพุ่มไม้ที่ขึ้นอยู่ริมเชิงเขา เขาจึงได้ทดลองกินผลไม้นั้นดูด้วยตัวเขาเอง ซึ่งเขาก็พบว่าทุกครั้งที่เขากินผลไม้สีแดงนั้น มันทำให้เขามีความสดชื่น และ กระปรี้กระเปร่าตลอดเวลา ด้วยความมหัศจรรย์ แห่งผลไม้สีแดงนี้ เป็นเหตุทำให้ชาวบ้านสนใจ และ บอกกันปากต่อปากกันอย่างรวดเร็ว จนเรื่องทราบไปถึงบาทหลวงท่านหนึ่งซี่งอยู่ที่โบสถ์ใกล้เคียง บาทหลวงท่านนั้นก็ได้นำผลไม้สีแดงนั้นไปเผาไฟหวังเพื่อจะลดอำนาจของมัน แต่ในขณะที่ทำการเผาอยู่นั้นก็พบว่ามันกลับส่งกลิ่นหอมอย่างน่าประหลาดใจ บาทหลวงท่านนั้นจึง เอาผลไม้สีแดงที่ถูกเผาไฟจนไหม้นั้นมาทุบแล้วก็โยนมันทิ้งลงไปในน้ำเพื่อต้องการที่จะดับไฟ และเมื่อได้ลองดื่มน้ำนั้นดูก็รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และยังทำให้ท่านสามารถสวดมนต์ได้ตลอดทั้งคืนโดยไม่มีอาการง่วงนอนอีกด้วย นับตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้มนต์แห่งผลไม้สีแดงยังไม่เคยเสื่อมลงเลยแม้แต่น้อย กลับมีผู้คนมากว่าค่อนโลกที่หลงเสน่ห์ของกาแฟ

ความนิยมของกาแฟเริ่มแพร่กระจายในอาหรับมากขึ้น กระทั่งในปี คศ1534 สุลตานแห่งอิสตันบูล นามว่า ออสโตมัส สั่งประกาศให้ เป็นสิ่งผิดกฏหมาย แต่เหมือนยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุหนึ่งปีต่อมากาแฟเป้นที่นิยมมากบขึ้นและมีร้านกาแฟเกิดขึ้น เป้นพี่พบปะของเหล่านักคิด นักปราชญ์ศิลปินรวมเหล่านักคิด ศิลปินแต่องค์กรศาสนากับมองว่าร้านกาแฟเป็นที่ซ่องซุมทำให้คนไม่สนใจศาสนา จึงประกาศว่า กาแฟเป็นเครื่องดื่มสีดำมืดของปีศาจซาตาน คนนิยมในกาแฟจึงลดลง กระทั่งยุคของสมเด็จสันปะปาคลีเมนที่ 13ได้ทดลองเครื่องดื่มดังกล่าว และประกาศว่าแท้จริงแล้วกาแฟมิได้เป็นอย่างข้อกล่าวหา กาแฟจึงกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งหนึ่ง

หลังจากนั้นการดื่มกาแฟเริ่มแพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง ต่อมามีการนำผลกาแฟไปเผยแพร่แก่ชาวยุโรป ทำให้เครื่องดื่มชนิดนี้เป็นที่แพร่หลายไปทั่วยุโรปอย่างรวดเร็ว

ในปี ค.ศ. 1700 เริ่มมีการนำต้นกาแฟไปปลูกแถบอเมริกาใต้ ซึ่งกลายเป็นที่นิยมปลูกกันมากในระยะเวลาต่อมา ปัจจุบันพื้นที่แถบอเมริกาใต้ปลูกกาแฟมากกว่า 19 ล้านตัน

ประวัติความเป็นมาของกาแฟในประเทศไทย

   กาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของโลกชนิดหนึ่ง เกษตรกรชาวไทยปลูกกาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจทั้งภาคเหนือและภาคใต้ โดยภาคเหนือปลูกกาแฟพันธุ์อราบิก้า (Arabica) และภาคใต้ปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้า (Robusta)

   ประวัติกาแฟพันธุ์อราบิก้าในประเทศไทย ตามบันทึกของพระสารศาสตร์พลขันธุ์ (นายเจริณี ชาวอิตาเลียน) ในปี พ.ศ. 2454 ได้ระบุว่า กาแฟเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา และได้มีการทดลองปลูกกาแฟอราบิก้าในฐานะพืชเศรษฐกิจมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2393 โดยครั้งแรกได้นำไปปลูกไว้ที่จังหวัดจันทบุรี จึงมีชื่อเรียกว่า กาแฟจันทบูร ส่วนกาแฟพันธุ์โรบัสต้า คนไทยคนแรกที่นำมาปลูกในภาคใต้ของไทย ชื่อ นายคิหมุน นำมาปลูกเมื่อปี พ.ศ. 2447 ที่อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา และมีการแพร่หลายในฐานะพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยมีแหล่งปลูกสำคัญร้อยละ 90 อยู่ทางภาคใต้ ที่จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี เป็นต้น โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกทางภาคใต้ คือ พันธุ์โรบัสต้า ในขณะที่ทางภาคเหนือแหล่งปลูกสำคัญอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน โดยนิยมปลูกพันธุ์อราบิก้า

    ในปี พ.ศ. 2500 นายสมบูรณ์ ณ ถลาง อดีตผู้อำนวยการกองการยาง กรมกสิกรรม (กรมวิชาการเกษตรในปัจจุบัน) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้นำเมล็ดกาแฟอราบิก้าจำนวน 4 สายพันธุ์ คือ ทิปิก้า (Typica), เบอร์บอน (Bourbon), แคททูรา (Caturra) และมุนดู นูวู (Mundo Novo) จากประเทศบราซิลมายังประเทศไทย โดยปลูกไว้ที่สถานีทดลองพืชสวนมูเซอ จ.ตาก สถานีทดลองพืชไร่แม่โจ้ จ.เชียงใหม่ และสถานีทดลองพืชสวนฝาง จ.เชียงใหม่ เมล็ดกาแฟจากสถานทดลองทั้งสามแห่งนี้ได้แพร่กระจายไปสู่เกษตรกรชาวไทยภูเขาและพื้นราบ ซึ่งปลูกกันอย่างแพร่หลาย ต่อมาต้นกาแฟอราบิก้าเหล่านี้ได้เกิดเป็นโรคราสนิม สาเหตุจาก เชื้อรา Hem ileia vastatrix ทำให้ต้นโทรม ผลผลิตต่ำมาก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2516 นักวิชาการโรคพืชจากกองวิจัยโรคพืช กรมวิชาการเกษตรได้ทำการสำรวจการแพร่ระบาดและความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้นกับกาแฟโรบัสต้าและกาแฟอราบิก้าในภาคใต้และภาคเหนือของประเทศ พบว่า กาแฟโรบัสต้าในภาคใต้ได้รับความเสียหายจากโรคราสนิมน้อยมาก เกิดขึ้นเฉพาะกาแฟอราบิก้าในภาคเหนือที่ปลูกบนภูเขาของจังหวัดตาก เชียงใหม่ เชียงราย (อ.แม่สาย) ลำปาง และน่าน ซึ่งได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงทั้งสายพันธุ์ ทิปิก้า เบอร์บอน และแคททูรา ทำให้เกษตรกรหยุดการดูแล เพราะไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องโรคราสนิมได้ จึงต้องปล่อยให้สวนกาแฟรกร้างและเลิกปลูกกันเป็นส่วนมาก

     ในปี พ.ศ. 2517 โครงการหลวงพัฒนาชาวเขา ได้มีดำริที่จะทำการวิจัยและพัฒนาการปลูกกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวไทยภูเขาในภาคเหนือ ภายใต้ความช่วยเหลือของกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA)ได้มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรดำเนินการ โดยโครงการหลวงพัฒนาชาวเขาได้รับเมล็ดพันธุ์กาแฟอราบิก้าลูกผสมรุ่นที่ 2 ที่ศูนย์วิจัยโรคราสนิมของโปรตุเกส (Coffee Rust Research Center, Oeiras, Portugal) ได้ผสมขึ้นมาเพื่อความต้านทานต่อโรคราสนิม โดยใช้พันธุกรรมที่สามารถต้านทานต่อโรคราสนิมของกาแฟอราบิก้า Hibride de Timor มาผสมกับกาแฟอราบิก้าที่มีพันธุกรรมต้นเตี้ย ผลผลิตสูง และกาแฟอราบิก้าที่มีรสชาติดี ลูกผสมรุ่นที่ 2 ทั้ง 26 คู่ผสมนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็น Hibrido de Timor derivative และกลุ่มอราบิก้าแท้ (True Arabica) โดยนำกาแฟอราบิก้าที่เพิ่งสำรวจพบ และเก็บเมล็ดมาในช่วงศตวรรษที่ 19 จากเอธิโอเปีย เช่น S.12 Kaffa, S.4 Agaro, S.6 Cioiccie Dilla Alghe เป็นต้น มาผสมกับกาแฟอราบิก้าสายพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้า เช่น แคททูรา คาทุยอิ ในปัจจุบันกาแฟอราบิก้าลูกผสมเหล่านี้ (หลายสายพันธุ์) ได้ผ่านการทดสอบกับเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคราสนิมแล้ว จึงได้คัดเลือกต้น บันทึกผลผลิตและพัฒนามาจนถึงรุ่นที่ 4 รุ่นที่ 5 รุ่นที่ 6 ของแต่ละสายพันธุ์ ปัจจุบันได้แพร่กระจายไปตามแหล่งปลูกต่าง ๆ บนภูเขาในภาคเหนือ เช่น มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ดอยช้าง จ.เชียงราย บนพื้นที่สูงของจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก น่าน เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก ตามลำดับ

     ในช่วงเวลาเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2517 กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาได้นำเมล็ดพันธุ์กาแฟอราบิก้าพันธุ์อื่นๆ มาให้โครงการหลวงพัฒนาชาวเขาอีกชุดหนึ่ง เช่น S.288, S.353 และ S.795 ซึ่งได้ผสมและพัฒนาพันธุ์จนกระทั่งมีความคงที่และไม่ผันแปรในความต้านทานต่อโรคราสนิม และเรื่องผลผลิต มาจากประเทศอินเดีย และกาแฟอราบิก้าสายพันธุ์ K.7 มาจากประเทศเคนย่า

ในปี พ.ศ. 2526 นักวิชาการจากกรมวิชาการเกษตร ได้เดินทางไปร่วมประชุมเรื่องโรคราสนิมของกาแฟ และศึกษาดูงานที่ศูนย์วิจัยโรคราสนิมของกาแฟที่ประเทศโปรตุเกส เมื่อเดินทางกลับประเทศ ได้นำเมล็ดพันธุ์กาแฟอราบิก้า คาติมอร์ (Coffee Arabica cv. Catimor) 2 เบอร์ กลับมาด้วย คือ คาติมอร์ CIFC 7962 และ คาติมอร์ CIFC 7963 หลังจากได้เพาะเมล็ดและทดสอบกล้าพันธุ์ กันเชื้อรา H. vastatric Race II ในห้องปฎิบัติการแล้ว กล้าพันธุ์เหล่านี้ได้ถูกส่งไปปลูกเพื่อทดสอบผลผลิต และความต้านทานต่อโรคราสนิมในสภาพธรรมชาติ ที่สถานีทดลองเกษตรหลวงขุนวาง จ.เชียงใหม่ สถานีเกษตรที่สูงเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ และศูนย์วิจัยและส่งเสริมกาแฟอราบิก้า โครงการหลวงแม่หลอด จ.เชียงใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 และปี พ.ศ. 2530 กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร ได้รับเมล็ดพันธุ์กาแฟอราบิก้า คาติมอร์ อีก 3 เบอร์ คือ คาติมอร์ CIFC 7958, คาติมอร์ CIFC 7960 และ คาติมอร์ CIFC 7961 จากศูนย์วิจัยโรคราสนิมของโปรตุเกส กล้าพันธุ์เหล่านี้ได้ถูกส่งไปปลูกที่สถานีเกษตรที่สูงเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ดอยตุง สถานีทดลองเกษตรที่สูง จ.เชียงราย และ ศูนย์วิจัยและพัฒนากาแฟอราบิก้า มูลนิธิโครงการหลวง แม่หลอด จ.เชียงใหม่

ในปี พ.ศ. 2531 กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร ได้รับเมล็ดพันธุ์กาแฟอราบิก้าลูกผสมรุ่นที่ 2 ระหว่าง คาติมอร์ คาทุยอิ จำนวน 8 ชุด จากศูนย์วิจัยโรคราสนิมของโปรตุเกส กล้าพันธุ์ที่ได้หลังจากการทดสอบกับเชื้อรา H. vastatrix Race II แล้ว ได้ถูกส่งไปปลูกที่ศูนย์วิจัยและพัฒนากาแฟอราบิก้า โครงการหลวงแม่หลอด จ.เชียงใหม่ สถานีทดลองเกษตรที่สูงเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ และโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง ภูขัด ภูเมี่ยง และภูสอยดาว จ.พิษณุโลก

สรุปได้ว่า กาแฟอราบิก้าสายพันธุ์ต่างๆ ได้แพร่กระจายไปตามแหล่งเพาะปลูกต่างๆ บนที่สูงในพื้นที่ของ มูลนิธิโครงการหลวง มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ดอยตุง จ.เชียงราย ส่วนเมล็ดพันธุ์จากสถานีของสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ได้ถูกส่งไปยัง สถานีทดลองเกษตรหลวงขุนวาง จ.เชียงใหม่ สถานีทดลองเกษตรที่สูงวารี จ.เชียงราย สถานีทดลองพืชสวน มูเซอ จ.ตาก สถานีทดลองเกษตรที่สูงเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ และโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง ภูขัด ภูเมี่ยง และภูสอยดาว จ.พิษณุโลก และได้แจกจ่ายไปสู่เกษตรกร และชาวไทยภูเขาได้ปลูกกันอยู่จนถึงปัจจุบันนี้

     ส่วนวัฒนธรรมการดื่มกาแฟมีการเปิดร้านกาแฟแห่งแรกในกรุงเทพฯ โดยชาวอเมริกัน ตั้งอยู่ที่บริเวณสี่กั๊กพระยาศรี ต่อมาได้มีร้านขายของชำชื่อ ตุงฮูสโตร์ขายกาแฟยี่ห้อ ตุงฮู ในสมัยราชกาลที่ 6 โปรดเกล้าให้ตั้งร้านกาแฟชื่อ นรสิงห์ ขึ้นบริเวณริมถนนศรีอยุธยาริมลานพระบรมรูปทรงม้า ต่อมามีการตั้งร้านกาแฟขึ้นอีกหลายร้าน

1. เอสเพรสโซ่ มาจากภาษาอิตาเลี่ยน (มั้ง) แปลว่าด่วน คือ เอาไอ้นี่อ่ะ ที่มันแดรกได้ด่วน ๆ กุรีบ ใช้กาแฟบดประมาณ 7 กรัม (เห็นจะได้) กลั่นน้ำกาแฟออกมา 1 ออนซ์

 

2. คาเฟ่อเมริกาโน่ หรืออเมริกันคอฟฟี่ คือกาแฟดำอีกประเภทหนึ่ง แต่ความเข้มข้นถูกเจือจางด้วยน้ำร้อน จะถูกเสริ์ฟในแก้วใหญ่ 3-4 ออนซ์ แต่ใช้ปริมาณน้ำกาแฟ 1 ออนซ์ ต่อจากนั้นเติมน้ำร้อนจนเต็มแก้ว ถ้าใครชอบทานกาแฟดำ แบบธรรมดาก็แนะนำให้สั่งแบบนี้
3. คาปูชิโน่ ชื่อนี้อาจคุ้นหูหลาย ๆ คน มาจาภาษาอิตาเลี่ยนอีกเช่นกัน เป็นชื่อของพระนิกายคาปูชิน เวลาชงออกมาแล้วมันคงเหมือนพระที่ห่มผ้าหนา ๆ มั้ง แก้วนี้ก็ใช้น้ำกาแฟ 1 ออนซ์เหมือนกัน แต่แบ่งแก้วเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกกาแฟ ส่วนที่ 2 นมร้อน ส่วนที่ 3 คือฟองนม ข้างบนจะเหยาะ โกโก้ หรือชินนามอน (หรืออบเชยนั่นแหละ เรียกให้มัน แกร๋ แกร๋)ก็ได้แล้วแต่ชอบ
4. คาเฟ่มอคค่า ก็คล้าย ๆ คาปูชิโน่นั่นแหละ แต่แตกต่างกันตรงที่ว่ามอคค่าเนี่ยจะผสมโกโก้ หรือน้ำเชื่อช็อคโกแลต (แล้วแต่ร้านว่าร้านไหนใช้สูตรไหนงับ) เข้าไปด้วย ส่วนด้านบนอาจเหยาะผงโกโก้ หรือ ราดน้ำเชื่อมช็อคโกแลตก็ได้
5. คาเฟ่ลัตเต้ เมนูนี้เป็นที่ฮิตมากสำหรับอเมริกัน (ฟังเค้ามาอีกที) มาจากพี่เลี่ยนอีกแล้ว ลัตเต้แปลว่านม ก็คือกาแฟนมอะแหละ ก็คือ กาแฟ 1 ออนซ์เท่าเดิม แต่ที่เหลือเป็นนมร้อนหมด ฟองนิดหน่อย หรือไม่ใส่เลยก็ไม่ผิดกติกา แต่เค้านิยมทำลัตเต้อาร์ทกันนะ แบบที่เทฟองนมเป็นรูปโน่นรูปนี่ หัวใจ ใบไม้ อะไร่ต่าง ๆ ขอบอกว่ายาก มัก มัก หัดมานาน เลยเอารูปกาแฟฝีมือตัวเองมาอวดเพื่อน ๆ ซะเลย (น่าเกียดไม่ว่ากันนะ) แล้ววันหลังจะมาอธิบายเกี่ยวกับเมนูอื่น ๆ ต่อไปนะงับ

กาแฟสด,เอสเพรสโซ่ +คาเฟ่อเมริกาโน่ +คาปูชิโน่ +คาเฟ่ลัตเต้

 

 
       
95/288 ม.3 ต.บ้านสวน  อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000
Tel : 038-146-672 ,038-146-544
สายด่วน : 081-344-2788 Dtac,ชัยภูมิ
Copyright © 2014 Nongfah.com - All Rights Reserved.

Powered by AIWEB